พระสุรัสวดี
พระสุรัสวดี | |
---|---|
สติปัญญา, ความรู้, ดนตรีนาฏศิลป์, ศิลปะ, การพูดจา, ภูมิปัญญา และการเรียนรู้ | |
ส่วนหนึ่งของ ตรีเทวี | |
ชื่อในอักษรเทวนาครี | सरस्वती |
ชื่อในการทับศัพท์ภาษาสันสกฤต | Saraswati |
ส่วนเกี่ยวข้อง | ตรีเทวี, พระมหาสุรัสวดี, เทพีแห่งแม่น้ำ, สัปตสินธุ, พระแม่มาตังคี, พระแม่คายตรี |
ที่ประทับ | พรหมโลก |
มนตร์ | โอม สรัสวตี นะมัส ตุภะยัม
วาระเท กามะรูปินี วิทยา รัมภัม กะริชยามิ สิทธิ ภะวะตุ เม สะทา |
พาหนะ | หงส์ หรือ นกยูง |
เป็นที่นับถือใน | เอเชียใต้, เอเชียอาคเนย์, ทิเบต, ญี่ปุ่น และเนปาล |
เทศกาล | วสันตปันชมี และ นวราตรี |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
คู่ครอง | พระพรหม[1][2] |
พี่น้อง | พระศิวะ |
พระสุรัสวดี หรือ พระสรัสวดี (สันสกฤต: सरस्वती สรสฺวตี) เป็นเทวีในศาสนาฮินดู ผู้อุปถัมภ์ความรู้, ศิลปะ, ดนตรี, ปัญญา และการเรียนรู้[3] เป็นพระชายาของพระพรหม และเป็นหนึ่งในตรีเทวีร่วมกับพระลักษมีและพระปารวตี ช่วยเหลือตรีมูรติในการสร้าง รักษา และทำลายเอกภพ ตามลำดับ[4]
พระสุรัสวดี เป็นเทพีที่ปรากฏในคัมภีร์ฤคเวท โดยยังมีความสำคัญและได้รับการนับถือเรื่อยมาตั้งแต่ยุคพระเวทจนถึงสมัยใหม่[5] ชาวฮินดูบางกลุ่มได้เฉลิมฉลองในเทศกาลวสันตปัญจมี (สันสกฤต: वसन्त पञ्चमी "วันที่ห้าของฤดูใบไม้ผลิ") เพื่อบูชาพระองค์[6]
นอกจากนี้ พระสุรัสวดี ยังได้รับการเคารพจากศาสนิกชนเชนในแถบภาคกลางและภาคตะวันตก[7] รวมทั้งยังได้รับการนับถือจากพุทธศาสนิกชนบางกลุ่มด้วย[8] ด้วยความที่เป็นเทพีแห่งศิลปวิทยา จึงให้มีผู้นับถือนอกเหนือไปจากประเทศอินเดีย เช่น ญี่ปุ่น, เวียดนาม, บาหลี (อินโดนีเซีย) และพม่า[9] โดยเฉพาะในญี่ปุ่นที่รับพระสรัสวดี มาเป็นเทพีในพุทธศาสนาแบบญี่ปุ่นและลัทธิชินโต เรียกว่า "เบ็นไซเต็ง"[10][11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Dowling, Elizabeth; Scarlett, W George (2005). Encyclopedia of Religious and Spiritual Development. SAGE Publications. p. 204. ISBN 978-0761928836.
- ↑ Kinsley, David (1988). Hindu Goddesses: Vision of the divine feminine in the Hindu religious traditions. University of California Press. pp. 55–64. ISBN 0-520063392.
- ↑ Kinsley, David (1988). Hindu Goddesses: Vision of the Divine Feminine in the Hindu Religious Traditions. University of California Press, ISBN 0-520-06339-2, pages 55-64
- ↑ Encyclopaedia of Hinduism, p. 1214; Sarup & Sons, ISBN 978-81-7625-064-1
- ↑ Kinsley, David (1988). Hindu Goddesses: Vision of the Divine Feminine in the Hindu Religious Traditions. University of California Press, ISBN 0-520-06339-2
- ↑ Vasant Panchami Saraswati Puja เก็บถาวร 2014-09-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Know India - Odisha Fairs and Festivals
- ↑ Birmingham Museum of Art (2010). Birmingham Museum of Art : guide to the collection. [Birmingham, Ala]: Birmingham Museum of Art. p. 55. ISBN 978-1-904832-77-5.
- ↑ Thomas Donaldson (2001). Iconography of the Buddhist Sculpture of Orissa. ISBN 978-8170174066, pages 274-275
- ↑ Kinsley, David (1988). Hindu Goddesses: Vision of the Divine Feminine in the Hindu Religious Traditions. University of California Press. ISBN 0-520-06339-2. p. 95.
- ↑ Catherine Ludvik (2001), From Sarasvati to Benzaiten, Ph.D. Thesis, University of Toronto, National Library of Canada; PDF Download
- ↑ Ian Reader and George J. Tanabe, Practically Religious: Worldly Benefits and the Common Religion of Japan, Univ of Hawaii Press, ISBN 978-0824820909
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สุรัสวดี