เทศบาลตำบลป๊อกแป๊ก
เทศบาลตำบลป๊อกแป๊ก | |
---|---|
จากบนลงล่าง ซ้ายไปขวา: รถไฟบรรทุกน้ำมันที่ป๊อกแป๊ก, โรงเรียนวัดป๊อกแป๊ก, วัดป๊อกแป๊ก, สำนักงานเทศบาลตำบลป๊อกแป๊ก, สถานีรถไฟบ้านป๊อกแป๊ก | |
พิกัด: 14°30′58.9″N 100°51′34.4″E / 14.516361°N 100.859556°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สระบุรี |
อำเภอ | เมืองสระบุรี |
จัดตั้ง |
|
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 1.44 ตร.กม. (0.56 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564)[1] | |
• ทั้งหมด | 725 คน |
• ความหนาแน่น | 503.47 คน/ตร.กม. (1,304.0 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 05190103 |
ที่อยู่ สำนักงาน | 8/5 หมู่ 1 บ้านป๊อกแป๊ก ถนนสายท่าช้าง - สันมะค่า ตำบลหนองโน อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี 18000 |
เว็บไซต์ | www |
ป๊อกแป๊ก เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลตำบลซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของหมู่ 1 บ้านป๊อกแป๊ก และบางส่วนของหมู่ 7 บ้านนาร่อง ของตำบลหนองโน ในอำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาลป๊อกแป๊กที่จัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2507[2] และได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบลใน พ.ศ. 2542[3] เดือนธันวาคม พ.ศ. 2564[4] ในเขตเทศบาลมีประชากรทั้งหมด 725 คน
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]เทศบาลตำบลป๊อกแป๊กมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ เทศบาลตำบลสวนดอกไม้ และเทศบาลตำบลเสาไห้ (อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี)
- ทิศใต้ ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโน (อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสว่าง (อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหัวโพ (อำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี)
ประวัติ
[แก้]ชื่อของเทศบาลมาจากชื่อของ “วัดป่าเป็ก” (วัดป๊อกแป๊กในปัจจุบัน) สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2453 ชาวบ้านร่วมใจกันสร้างขึ้น เดิมที่ชาวบ้านนี้ได้อพยพมาจากทางเหนือเรียกตัวเองว่า “ยวน” น่าจะแผลงมาจากคำว่า “โยนก” เมื่อมีจำนวนมากเข้าก็ได้จัดสร้างขึ้นแล้วเรียก เนื่องจากหมู่บ้านที่มีป่าไม้ชนิดหนึ่งเรียกว่า “เป๊ก” หรือ “เพ็ก” มีลักษณะคล้ายไม้รวกแต่เล็กกว่า ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือถึงจังหวัดนครราชสีมา ทางรถไฟผ่านหมู่บ้านนี้ทางราชการได้ตั้งสถานีรถไฟบ้านป๊อกแป๊ก เรียกเพี้ยนมาจากบ้านป่าเป๊ก ตั้งแต่นั้นมาชื่อบ้านป่าเป๊กก็ค่อยหายไป คงเหลือแต่บ้านป๊อกแป๊กแทน
ในปี พ.ศ. 2506 ทางราชการได้เห็นว่าท้องถิ่นหมู่ที่ 1 บ้านป๊อกแป๊ก, บ้านป๊อกแป๊กใต้ ของตำบลหนองโน ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟบ้านป๊อกแป๊ก (ในขณะนั้น) มีตลาดเป็นที่ประชุมชน บ้านเรือนราษฎรตั้งอยู่เป็นปึกแผ่น คมนาคมและการค้าขายเจริญมาก แต่ยังขาดการบำรุงรักษา ทางราชการจึงประกาศจัดตั้ง "สุขาภิบาลป๊อกแป๊ก"[2] ขึ้นในวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2507 โดยมีผลในวันที่ 8 กันยายน ปีเดียวกัน เพื่อบำรุงความสุขและความสะดวกของประชาชนให้ยิ่งขึ้น นับว่าเป็นสุขาภิบาลแห่งที่ 2 ของอำเภอเมืองสระบุรี ก่อนที่จะยกขึ้นเป็น "เทศบาลตำบลป๊อกแป๊ก"[3] ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 โดยมีผลในวันที่ 25 พฤษภาคม ปีเดียวกัน
สภาพสังคม
[แก้]สถานศึกษา
[แก้]- โรงเรียนวัดป๊อกแป๊ก เดิมชื่อว่า โรงเรียนเมืองสระบุรี[2] ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลหนองโน อำเภอเมืองสระบุรี เป็นสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับที่เปิดสอน : ประถมศึกษา
- โรงเรียนอนุบาลเทศบาลป๊อกแป๊กและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลป๊อกแป๊ก
การสาธารณสุขในชุมชน
[แก้]- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองโน
- อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 20 คน
ด้านคมนาคม
[แก้]ทางถนน
[แก้]- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3314 สายท่าช้าง–สันมะค่า เป็นทางหลวงขนาด 2 ช่องจราจรเกือบตลอดสาย แต่เฉพาะช่วงที่ผ่านเทศบาลตำบลป๊อกแป๊ก ความยาว 1.44 กิโลเมตร เป็นทางหลวงขนาด 6 ช่องจราจร
- ทางหลวงชนบทหมายเลข สบ.5043 เป็นถนนลาดยางผ่านเทศบาลตำบลป๊อกแป๊ก
- รถโดยสารสายสระบุรี–หนองโน–บัวลอย ผ่าน ทำให้สะดวกในการเดินทางไปในเมืองหรือท้องที่อื่น
ทางรถไฟ
[แก้]- สถานีรถไฟบ้านป๊อกแป๊ก เป็นสถานีรถไฟชั้น 1 ของทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ เดิมตั้งอยู่ในเขตตำบลสวนดอกไม้ อำเภอเสาไห้ ตั้งชื่อตามชุมชนที่อยู่ใกล้ที่สุด คือเขตบ้านป๊อกแป๊กใต้ ตำบลหนองโน ของอำเภอเมืองสระบุรี ปัจจุบันย้ายมาตั้งอยู่ที่ตำบลโคกสว่างและตอนเหนือของสถานีบางส่วนตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลป๊อกแป๊ก (ตำบลโคกสว่างแยกออกจากตำบลหนองโนในปี พ.ศ. 2490[5] สถานีจึงย้ายขึ้นอยู่ในเขตตำบลโคกสว่าง) มีทางแยกหน่วยจ่ายน้ำมันทางรถไฟ บริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด
ประชากร
[แก้]เทศบาลตำบลป๊อกแป๊กประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 2 หมู่บ้าน แบ่งเป็นเต็มพื้นที่ในหมู่ที่ 1 บ้านป๊อกแป๊ก และพื้นที่บางส่วนในหมู่ที่ 2 บ้านนาร่อง มีจำนวนประชากร 725 คน แบ่งเป็นชาย 330 คน หญิง 395 คน (เดือนธันวาคม 2564) และมีครัวเรือนทั้งหมด 421 หลังคาเรือน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
หมู่บ้าน | พ.ศ. 2564[6] | พ.ศ. 2563 [7] | พ.ศ. 2562[8] | พ.ศ. 2561[9] | พ.ศ. 2560[10] | พ.ศ. 2559[11] | พ.ศ. 2558[12] |
---|---|---|---|---|---|---|---|
ป๊อกแป๊ก | 365 | 359 | 374 | 370 | 365 | 377 | 379 |
นาร่อง (บางส่วน) | 358 | 360 | 358 | 345 | 333 | 328 | 337 |
**ทะเบียนบ้านกลาง | 2 | 2 | 4 | 4 | 4 | 4 | 4 |
รวม | 725 | 721 | 736 | 719 | 702 | 709 | 720 |
สถานที่สำคัญ
[แก้]- วัดป๊อกแป๊ก พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่มมีที่ทุ่งนาของชาวบ้านโดยรอบ อาคารเสนาสนะต่าง ๆ มีอุโบสถกว้าง 7 เมตร ยาว 19 เมตร สร้างปีพ.ศ. 2476 โดยสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาการเปรียญกว้าง 16 เมตร ยาว 33 เมตร สร้างด้วยไม้และคอนกรีต 2 ชั้น พ.ศ. 2526 หอสวดมนต์กว้าง 13 เมตร ยาว 15 เมตร สร้างด้วยไม้ พ.ศ. 2491 กุฏิสงฆ์จำนวน 4 หลัง เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ สำหรับปูชนียวัตถุมีพระประธานในอุโบสถ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประชากรในเขตท้องถิ่นเทศบาลตำบลป๊อกแป๊ก อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลป๊อกแป๊ก อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 81 (85 ง): 2282–2283. วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2507
- ↑ 3.0 3.1 "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-05-16 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2022-09-14. วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] เก็บถาวร 2020-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.