ข้ามไปเนื้อหา

คั่นหน้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เมนูบุ๊กมาร์กของมอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ (เลิกสนับสนุนไลฟ์บุ๊กมาร์กตั้งแต่ปลาย ค.ศ. 2018 เป็นต้นมา)

ในรายละเอียดของเวิลด์ไวด์เว็บ คั่นหน้า หรือ บุ๊กมาร์ก (อังกฤษ: bookmark) คือตัวระบุแหล่งทรัพยากรสากล (Uniform Resource Identifier; URI) ที่เก็บไว้ค้นในภายหลัง เว็บเบราว์เซอร์ในปัจจุบันทั้งหมดมีคุณสมบัติบุ๊กมาร์ก บุ๊กมาร์กถูกเรียกเป็น ของโปรด (favorites) หรือ ทางลัดอินเทอร์เน็ต (Internet shortcuts) บนอินเทอร์เน็ตเอ็กซ์พลอเรอร์ ซึ่งมีความหมายเดียวกันกับ บุ๊กมาร์ก ตั้งแต่สงครามเบราว์เซอร์ครั้งแรก[1]

มีการใช้บุ๊กมาร์กบนเบราว์เซอร์มาตั้งแต่เว็บโมเสกใน ค.ศ. 1993[2] บนเว็บโมเสกเรียกบุ๊กมาร์กว่า ฮอตลิสต์[3] และรุ่นเก่าของโอเปร่า เว็บช่วงแรกที่มีคุณสมบัติบุ๊กมาร์ก ได้แก่ ไวโอลาดับเบิลยูดับเบิลยูดับเบิลยู (ViolaWWW) และเซลโล

เบราว์เซอร์รุ่นใหม่เริ่มขยายคุณสมบัติ "บุ๊กมาร์ก" ให้รวมความหลากหลายของการบันทึกลิงก์ มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ได้แนะนำไลฟ์บุ๊กมาร์กใน ค.ศ. 2004[4] แต่อย่างไรก็ตาม ทางมอซิลลานำคุณสมบัตินี้ออกใน ค.ศ. 2018[5]

การใช้งาน

[แก้]

ในโปรแกรมค้นดูเว็บส่วนใหญ่จะมีคำสั่งในรายการเลือกด้านบน โดยเลือกไปที่ "คั่นหน้า" (หรือ เฟเวอริต) แล้วเลือก "ใส่เพิ่ม" หรือ "จัดการ" เพื่อทำการลบหรือจัดเรียงคั่นหน้าที่ต้องการ

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Shannon, L. R. (21 February 1999). "Travel Advisory: Cyberscout; Getting to Your Destination Without Drowning in Data". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 3 July 2009.
  2. "New X-based information systems browser available.", post to comp.infosystems by Marc Andreessen on February 16, 1993
  3. "May World-Wide Web News" in 1993 by Tim Berners-Lee
  4. "Mozilla Foundation Releases the Highly Anticipated Mozilla Firefox 1.0 Web Browser", press release on November 9, 2004
  5. "Firefox 64.0, See All New Features, Updates and Fixes". Mozilla (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). December 11, 2018. สืบค้นเมื่อ December 12, 2018.
pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy