ข้ามไปเนื้อหา

ลูนา 1

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เมชตา
Мечта
แบบจำลองในพิพิธภัณฑ์
ประเภทภารกิจยานปะทะดวงจันทร์[1]
ผู้ดำเนินการสหภาพโซเวียต
Harvard designation1959 Mu 1[2]
COSPAR ID1959-012A[3]
SATCAT no.112[3]
ระยะภารกิจประมาณ 62 ชั่วโมง[4]
ข้อมูลยานอวกาศ
ผู้ผลิตОКБ-1
มวลขณะส่งยาน361 กิโลกรัม (796 ปอนด์)
เริ่มต้นภารกิจ
วันที่ส่งขึ้น2 มกราคม 1959 16:41:21 UTC
จรวดนำส่งลูนา 8K72
ฐานส่งบัยโกเงอร์ 1/5
สิ้นสุดภารกิจ
ติดต่อครั้งสุดท้าย5 มกราคม 1959
ลักษณะวงโคจร
ระบบอ้างอิงโคจรรอบดวงอาทิตย์
กึ่งแกนเอก1.146 หน่วยดาราศาสตร์
ความเยื้อง0.14767
ระยะใกล้สุด0.9766 หน่วยดาราศาสตร์
ระยะไกลสุด1.315 หน่วยดาราศาสตร์
ความเอียง0.01 องศา
คาบการโคจร450 วัน
วันที่ใช้อ้างอิง1 มกราคม 1959, 19:00:00 UTC[5]
บินผ่าน ดวงจันทร์ (ปะทะล้มเหลว)
เข้าใกล้สุด4 มกราคม 1959
ระยะทาง5,995 กิโลเมตร (3,725 ไมล์)
 

ลูนา 1 (อี-1 ซีรีส์) ซึ่งในขณะนั้นรู้จักกันในชื่อ เมชตา (รัสเซีย: Мечта; "ความฝัน"), E-1 หมายเลข 4[6] เป็นยานอวกาศลำแรกที่เดินทางไปถึงบริเวณใกล้เคียงของดวงจันทร์ และเป็นลำแรกในโครงการลูนาของโซเวียตที่สามารถปล่อยขึ้นไปในทิศทางเดียวกับดวงจันทร์ได้สำเร็จ ลูนา 1 ซึ่งภารกิจเป็นยานปะทะดวงจันทร์ แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากการจุดจรวดท่อนบนที่ผิดเวลาในระหว่างการปล่อย ทำให้พลาดเป้าจากดวงจันทร์ โดยเป็นยานอวกาศลำแรกที่ออกจากวงโคจรรอบโลก ลูนา 1 บินผ่านดวงจันทร์ด้วยระยะใกล้สุด 5,900 กิโลเมตร (มากกว่าสามเท่าของขนาดรัศมีดวงจันทร์) และกลายเป็นยานอวกาศที่อยู่ในวงโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นลำแรก ถูกขนานนามว่าเป็น "ดาวเคราะห์ดวงใหม่" และเปลี่ยนชื่อเป็นเมชตา[7] และยังถูกเรียกว่าเป็น "First Cosmic Rocket" จากความสำเร็จในการหลุดพ้นแรงดึงดูดโลก

ขณะเดินทางผ่านแถบรังสีแวนอัลเลนชั้นนอก เครื่องมือตรวจวัดรังสีของยานสามารถตรวจจับอนุภาคพลังงานสูงปริมาณเล็กน้อยที่มีอยู่ในวงแหวนชั้นนอก ค่าที่ได้จากการตรวจวัดดังกล่าวทำให้ได้ข้อมูลใหม่เกี่ยวกับแถบรังสีของโลกและอวกาศ ปรากฏว่าดวงจันทร์ไม่มีสนามแม่เหล็กที่สามารถตรวจพบได้ นอกจากนี้ ลูนา 1 ยังเป็นครั้งแรกที่มีการสังเกตและตรวจวัดลมสุริยะโดยตรง[8][9][10] ความเข้มข้นของพลาสมาที่ถูกเปลี่ยนเป็นไอออนดังกล่าววัดปริมาณได้ราว 700 อนุภาคต่อ ลบ.ซม. ที่ระดับความสูง 20,000-25,000 กิโลเมตร และ 300 ถึง 400 อนุภาคต่อ ลบ.ซม. ที่ระดับความสูง 100,000-150,000 กิโลเมตร[11] ลูนา 1 ยังได้มีการติดต่อทางวิทยุเป็นครั้งแรกจากระยะทางครึ่งล้านกิโลเมตรจากพื้นโลก

ชุดขับดันลูนา 1 Blok E ส่วนบนและการจัดวางสัมภาระยานปะทะดวงจันทร์

อ้างอิง

[แก้]
  1. Siddiqi, Asif A (2018). "Beyond Earth: A Chronicle of Deep Space Exploration, 1958–2016" (PDF). The NASA history series (second ed.). Washington, DC: NASA History Program Office. p. 11. ISBN 978-1-62683-042-4. LCCN 2017059404.
  2. "Luna Ye-1". Gunter's Space Page. สืบค้นเมื่อ November 9, 2019.
  3. 3.0 3.1 "Luna 1". NASA Space Science Data Coordinated Archive.
  4. Siddiqi 2018, p. 11.
  5. "Luna 1 Launch and Trajectory Information". NASA Space Science Data Coordinated Archive. สืบค้นเมื่อ 2018-05-02.
  6. David Darling (2003). The complete book of spaceflight: from Apollo 1 to zero gravity. John Wiley and Sons. p. 244. ISBN 0471056499.
  7. Cormack, Lesley B. (2012). A History of Science in Society: From Philosophy to Utility (2nd ed.). University of Toronto Press. p. 342. ISBN 978-1-4426-0446-9.
  8. Brian Harvey (2007). Russian planetary exploration: history, development, legacy, prospects. Springer. p. 26. ISBN 0387463437.
  9. David Darling. "Luna". Internet Encyclopedia of Science.
  10. "Luna 1". NASA National Space Science Data Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-11. สืบค้นเมื่อ 4 August 2007.
  11. "Soviet Space Rocket". Yearbook of the Great Soviet Encyclopedia (ภาษารัสเซีย). Moscow: Sovetskaya Enciklopediya. 1959. ISSN 0523-9613. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-21.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]


pFad - Phonifier reborn

Pfad - The Proxy pFad of © 2024 Garber Painting. All rights reserved.

Note: This service is not intended for secure transactions such as banking, social media, email, or purchasing. Use at your own risk. We assume no liability whatsoever for broken pages.


Alternative Proxies:

Alternative Proxy

pFad Proxy

pFad v3 Proxy

pFad v4 Proxy